การควบคุมอาหารถือเป็นหัวใจสำคัญการคุมนํ้าตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ตั้งแต่การเลือกอาหารที่เหมาะสม เทคนิคการกิน ไปจนถึงการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงและไขความเข้าใจผิด เพื่อคุมนํ้าตาลให้ได้ผลจริง
เข้าใจโรคเบาหวาน และความสำคัญของการควบคุมอาหาร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถนำนํ้าตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ ส่งผลให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงเกินไป การควบคุมอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยรักษาระดับนํ้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต โรคหัวใจและหลอดเลือด และยังช่วยควบคุมนํ้าหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกด้วย
หลักการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
การรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือการเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินตรงเวลาและครบ 3 มื้อ โดยควบคุมปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้ใกล้เคียงกัน หลีกเลี่ยงการกินจุบจิบ เลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันตํ่า เช่น ไก่หรือปลา ใช้นํ้ามันพืชแทนไขมันสัตว์ เลือกผลไม้ที่มีดัชนีนํ้าตาลตํ่า เช่น ฝรั่ง แก้วมังกร ชมพู่ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มหรือหวานจัด รวมถึงงดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ดัชนีนํ้าตาล (Glycemic index) คือค่าที่ใช่บ่งบอกถึงความสามารถของอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตว่ามีผลต่อการเพิ่มของระดับนํ้าตาลในเลือดภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังการบริโภคอาหารชนิดนั้น โดยแบ่งได้ทั้งหมด 3 ระดับได้แก่
ซึ่งการเลือกทานอาหารกลุ่มที่มีดัชนีนํ้าตาลตํ่า จะช่วยควบคุมระดับนํ้าตาลได้ดีกว่าอาหารกลุ่มที่มีดัชนีนํ้าตาลสูง
ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
สำหรับอาหารที่ควรเลือกรับประทานในผู้ป่วยเบาหวานจะมีดังนี้
โดยเมนูอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกรับประทานได้ในชีวิตประจำวัน เช่น
ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงนํ้าตาลขึ้น
เทคนิคการกินให้นํ้าตาลคุมอยู่
วิธีการวางแผนมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้อยู่ ได้แก่
วิธีที่ 1 แบ่งส่วนจานอาหารสุขภาพดี
เพื่อให้ผู้ป่วยวางแผนมื้ออาหารอย่างง่ายที่สุด คือการแบ่งสัดส่วนใจจานอาหาร เพียงใช้จานเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 นิ้ว แล้วแบ่งส่วนอาหารดังนี้
วิธีที่ 2 นับคาร์โบไฮเดรต
อาหารจำพวกแป้ง และนํ้าตาลส่งผลให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นการคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวัน จึงเป็นอีกวิธีในการควบคุมนํ้าตาลในเลือด และยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับอินซูลิน สามารถปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสมได้
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
1. การรับประทานอาหารที่มีนํ้าตาลสูงทำให้เป็นเบาหวาน นอกจากการรับประทานอาหารที่มีนํ้าตาลสูงเป็นเวลานานจะทำให้เกิดเบาหวานได้แล้ว เบาหวานยังสามารถเกิดจากพันธุกรรม และการใช้ชีวิตอื่น ๆ ได้
2. ห้ามรับประทานอาหารที่มีรสหวาน หากรับประทานขนมหวาน หรือผลไม้ในสัดส่วนที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกาย หรือคุมอาหาร ก็ยังสามารถรับประทานอาหารที่มีรสหวานต่อได้
3. นํ้าตาลจากผลไม้ปลอดภัยทานได้ ผลไม้ที่มีรสหวาน ผลไม้อบแห้ง ผลไม้ตากแห้ง และผลไม้แปรรูปต่าง ๆ เป็นผลไม้ที่มีนํ้าตาลสูงจึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก
4. นํ้าตาลในผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถรับประทานได้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานนํ้าตาลอื่นทดแทนนํ้าตาลทรายได้ โดยนํ้าตาลที่เลือกใช้ได้แก่
• แอสปาร์แตม ในปริมาณ 38 มิลลิกรัม สามารถให้ความหวานเท่ากับนํ้าตาล 2 ช้อนชา ซึ่ง USFDA อนุญาตให้ใช้ได้วันละ 50 มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ทนความร้อนสูงไม่ได้จึงต้องใส่หลังประกอบอาหารแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่านี้มาก สามารถใส่ในอาหาร หรือดื่มได้
• ฟรุคโตส เป็นนํ้าตาลผลไม้ที่มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายเกือบ 2 เท่า ทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงช้ากว่านํ้าตาลทราย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมากอาจทำให้ระดับนํ้าตาล และระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นได้
การควบคุมอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานให้คงที่ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน การเลือกอาหารที่มีดัชนีนํ้าตาลตํ่า ธัญพืชไม่ขัดสี และไขมันดี พร้อมลดหวาน มัน เค็ม และวางแผนมื้ออาหารอย่างเหมาะสม จะช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ดีได้ในระยะยาว
เขียนบทความโดย ภญ.ฐิตาภา ภาษานนท์
อ้างอิง
1.สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/understand-diabetes/understand-diabetes-2
2.โรงพยาบาลเปาโล. เบาหวาน กินอะไรได้บ้าง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเปาโล; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th-th/kaset/Article/Details/เบาหวาน-กินอะไรได้บ้าง
3.โรงพยาบาลศิครินทร์. เบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิครินทร์; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sikarin.com/health/เบาหวาน
4.โรงพยาบาลเจ้าพระยาสุวรรณภูมิ. โภชนาการกับการควบคุมเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลเจ้าพระยาสุวรรณภูมิ; [ไม่ทราบปีที่เผยแพร่] [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-diet-and-diabetes-control
5.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. ผลไม้รสหวาน ดัชนีนํ้าตาล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย; [ไม่ทราบปีที่เผยแพร่] [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://kcmh.chulalongkornhospital.go.th/line/ผลไม้รสหวาน-ดัชนีนํ้าตาล
6. PrimoCare. อาหารผู้ป่วยเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: PrimoCare; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://primocare.com/อาหารผู้ป่วยเบาหวาน
7.โรงพยาบาลพญาไท. ตัวอย่างการวางแผนมื้อ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลพญาไท; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phyathai.com/th/article/3134-ตัวอย่างการวางแผนมื้อ
8.โรงพยาบาลพญาไท. ผู้ป่วยเบาหวานควรทานข [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลพญาไท; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phyathai.com/th/article/3133-ผู้ป่วยเบาหวานควรทานข
9.โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. Diabetes facts [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-facts
10.โรงพยาบาลกรุงเทพ. Diabetes myths and facts [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลกรุงเทพ; [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhospital.com/content/diabetes-myths-and-facts
11.โรงพยาบาลพญาไท. ผู้ป่วยเบาหวานควรทานข้าวอย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลพญาไท; [ไม่ทราบปีที่เผยแพร่] [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phyathai.com/th/article/3133-ผู้ป่วยเบาหวานควรทานข้าวอย่างไร