โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร? พร้อมอาหารที่ควร-ไม่ควรทาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน เป็นหนึ่งในโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศไทยในปัจจุบัน สาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่มีรสหวาน หรือรสจัดมากเกินไป และยิ่งถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวาน มาก่อน ก็มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปอีก มาทำความรู้จัก โรคเบาหวาน เพิ่มเติมกันอีกสักนิดดีกว่า แล้วมาดูกันว่า อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรกิน-ไม่ควรกิน อะไรบ้าง…

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร?

โรคเบาหวาน (Diabete) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แต่เรามักเรียกกันติดปากว่า โรคเบาหวาน ซึ่งถือเป็น โรคไม่ติดต่อ ยอดนิยมที่คนไทยเป็น หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรค และอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น ได้แก่

  • จอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • หลอดเลือดสมอง
  • และภาวะแทรกซ้อนที่เท้า และขา

สาเหตุที่ทำให้คนเราป่วยเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น ก็คือ การรับประทานอาหารที่ผิดวิธี น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังการน้อย และจากพันธุกรรม

ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี คือ “วันเบาหวานโลก”

ริเริ่มขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 โดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก เพื่อสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของเบาหวานทั่วโลก

โรคเบาหวานกับค่าน้ำตาลในเลือด

การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด เป็นเรื่องสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน และการตรวจค่าระดับน้ำตาลที่ดีที่สุดมักจะต้องทำทั้งที่บ้านด้วยตัวเอง และที่โรงพยาบาล

สำหรับใครที่พ่อแม่มีประวัติเป็นเบาหวาน ต้องตรวจเช็คน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง

สำหรับการตรวจสอบค่าระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ส่วนมากสามารถใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (ใช้เลือดที่ได้จากปลายนิ้ว สัมผัสลงบนแถบทดสอบ) ซึ่งด้วยเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดส่วนมากอ่านค่าน้ำตาลในเลือดเป็น mg / dL

แนวทางการเลือกกิน อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สิ่งที่สำคัญที่สุด ของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ การระวังรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอล ให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การเลือกกินอาหารอย่างถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี โรคแทรกซ้อนก็จะลดลงด้วย

โดยจุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหาร คือ

  1. รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  2. ป้องกันโรคที่พบร่วมกับเบาหวาน ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง และ ความดันโลหิตสูง
  3. ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่ หลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะหมดสติจากน้ำตาลต่ำหรือสูง
  4. ให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ ที่จะรักษาระดับน้ำหนักให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด และเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตในเด็ก และให้นมบุตรในหญิงตั้งครรภ์
  5. ส่งเสริมสุขภาพให้ดีที่สุด
  6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น ถ้าเป็นเด็กต้องให้ได้พลังงานที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
  7. ให้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้ตามปกติ
     ควรเลือกอาหารที่น้ำตาลน้อย อาหารจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรืออาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI) ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ภายหลังกินอาหาร และช่วยลดความเสี่ยงของ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงฉับพลัน ที่เป็นอันตรายได้

อาหารที่ควรควบคุมเป็นพิเศษ คือ อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง และน้ำตาล

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวาน อาจเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในการปรุงอาหารเพื่อลดปริมาณน้ำตาลที่ได้รับ และช่วยให้อาหารแต่ละเมนูดีต่อสุขภาพมากขึ้นด้วย โดยตัวอย่างสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่สามารถใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่

  • แอสพาร์แทม (Aspartame) – เป็นสารให้ความหวานสังเคราะห์ ที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 180-200 เท่า จึงใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำตาลหลายเท่า ให้พลังงานต่ำ หากปรุงด้วยความร้อนสูงอาจทำให้เกิดรสขมได้
  • ไอโซมอลทูโลส (Isomaltulose) – เป็นสารให้ความหวานที่มีทั้งแบบธรรมชาติ และสกัดจากธรรมชาติ สามารถทนความร้อนได้สูง มีรสชาติเหมือนกับน้ำตาล ไม่มีรสขมติดลิ้น หรือรสขมเฝื่อน ทำให้รสชาติอาหารไม่เปลี่ยน และให้พลังงานเทียบเท่าน้ำตาล แต่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI)
  • ซูคราโลส (Sucralose) – ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติถึง 600 เท่า จึงใช้ในปริมาณน้อยมาก เป็นสารที่ไม่ให้พลังงาน ไม่มีรสขม สามารถใช้กับอาหารได้ทั้งแบบร้อน และเย็น
  • หญ้าหวาน (Stevia) – มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า และที่สำคัญหญ้าหวานเป็นน้ำตาลที่ไม่มีพลังงานอีกด้วย นิยมนำมาเป็นส่วนผสมในอาหาร และเครื่องดื่มหลายชนิด

สินค้าแนะนำ