เบาหวานในระยะเริ่มต้น มักไม่มีอาการเด่นชัด แต่มักมีสัญญาณเตือน เช่น เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย หรือแผลหายช้า จึงต้องรีบตรวจเช็คเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
เบาหวานคืออะไร?
โดยปกติ เมื่อรับประทานอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนเพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน กระบวนการนี้เกิดความผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหลั่งอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ
โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่
โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่
อาการของเบาหวานระยะแรก
ในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการอาจจะยังไม่เด่นชัด แต่สามารถตรวจเช็คอาการเบื้องต้นที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานระยะแรกได้ ดังนี้
• อาการกระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะพยายามกำจัดน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
• น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานระยะแรกอาจพบว่าน้ำหนักลดลงทั้งที่ไม่ได้ควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงต้องสลายไขมัน และกล้ามเนื้อมาใช้แทน
• หิวบ่อย กินจุ อ่อนเพลีย และง่วงนอนผิดปกติ เนื่องจากเซลล์ไม่ได้รับน้ำตาลเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวบ่อย รับประทานจุ เหนื่อยง่าย และง่วงนอนผิดปกติ
• แผลหายช้า และติดเชื้อง่าย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังและเท้า
• คันตามผิวหนัง ผู้ป่วยเบาหวานมักมีผิวหนังที่แห้ง จึงทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนังได้ รวมถึงในบางกรณีอาจเกิดจากการที่ปลายประสาทบริเวณผิวหนังถูกทำลายจึงทำให้เกิดอาการคันยุบยิบตามผิวหนังได้
• ตามัว เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติอาจส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดฝอยบริเวณจอตา ทำให้เกิดอาการตามัวได้
• ชาปลายมือปลายเท้า ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติอาจทำให้ปลายประสาทบริเวณปลายมือ และปลายเท้าถูกทำลาย จึงเกิดอาการชาได้
อาการที่แตกต่างในเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2
ข้อแตกต่างระหว่างเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 คือ เบาหวานชนิดที่ 1 สามารถพบได้ในทุกช่วงวัย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 จะพบบ่อยในผู้ใหญ่มากกว่า อาการมักไม่เด่นชัด ดังนั้นจึงควรรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยตัวเอง
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถติดตาม และดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว นำเลือดหยดลงบนแถบทดสอบ แล้วใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบพกพาอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือด
ความถี่ในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดควรปรับให้เหมาะสมกับชนิดของโรคเบาหวาน รูปแบบการรักษา และความจำเป็นทางคลินิกของผู้ป่วยแต่ละราย
โดยทั่วไปควรตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งมีแนวทางทั่วไปดังนี้
เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วย
วิธีการดูแลตนเองเมื่อพบว่าเป็นเบาหวาน
โรคเบาหวานระยะแรกไม่มีอาการเด่นชัด แต่สามารถสังเกตจากอาการเบื้องต้นได้ เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และปรับพฤติกรรมสุขภาพเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
เขียนบทความโดย ภญ.ฐิตาภา ภาษานนท์
อ้างอิง
1.โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์; [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2
2.โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์; [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2
3.สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ข้อมูลสุขภาพและบทความ: โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; [ไม่ทราบปีที่เผยแพร่] [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/sahrab-bukhkhl-thawpi/health-information-and-articles/health-information-and-articles-2561/2018-diabates-31
4.โรงพยาบาลธนบุรี. ตรวจเช็กอาการเริ่มต้นโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธนบุรี; [ไม่ทราบปีที่เผยแพร่] [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thonburihospital.com/early-diabetes-symptoms-check/
5. Medical News Today. Diabetes and itching: Causes of diabetic itching [Internet]. Brighton: Medical News Today; [cited 2025 May 5]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/diabetes-and-itching#causes-of-diabetic-itching
6. Centers for Disease Control and Prevention. Diabetes signs and symptoms [Internet]. Atlanta: CDC;[cited 2025 May 5]. Available from: https://www.cdc.gov/diabetes/signs-symptoms/index.html
7.โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์; [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/self-monitoring-of-blood-glucose
8.โรงพยาบาลศิครินทร์. สังเกตตัวเองด่วน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิครินทร์; [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sikarin.com/health/สังเกตตัวเองด่วน
9.โรงพยาบาลหัวเฉียว. โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลหัวเฉียว; [ไม่ทราบปีที่เผยแพร่] [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hc-hospital.com/health-info/diabetes/