5 สัญญาณเตือนเบาหวานที่คุณอาจไม่เคยรู้ เช็คเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

เบาหวานเป็นหนึ่งใน “โรคเงียบ” ที่อันตรายไม่แพ้โรคหัวใจหรือมะเร็ง และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่รู้ว่าตัวเองกำลังมีความเสี่ยง เพราะอาการในระยะแรกมักไม่รุนแรง และถูกมองข้าม

วันนี้เราขอพาคุณมารู้จักกับ 5 สัญญาณเตือนเบาหวาน ที่หลายคนไม่เคยสังเกตมาก่อน พร้อมวิธี “เช็คตัวเอง” ง่าย ๆ ที่บ้าน เพื่อรู้เท่าทันก่อนสายเกินไป

1. เหนื่อยง่ายโดยไม่มีสาเหตุ
ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง แม้นอนหลับเพียงพอ นั่นอาจไม่ใช่เพราะพักผ่อนไม่พอเสมอไป

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา

2. ตามัวลง หรือมองเห็นไม่ชัด
การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำให้เลนส์ในดวงตาเปลี่ยนรูปร่างชั่วคราว ส่งผลให้มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว

ถ้าคุณรู้สึกว่าต้องเพ่งมากขึ้นกว่าปกติ หรือต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ควรตรวจน้ำตาลด่วน

3. แผลหายช้ากว่าปกติ
แผลเล็ก ๆ ที่ใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการหาย อาจเป็นสัญญาณของการไหลเวียนเลือดที่เสื่อมลง ซึ่งสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลสูงที่ทำลายหลอดเลือดฝอย

4. ชา หรือเสียวแปล๊บที่ปลายนิ้ว มือ หรือเท้า
ปลายประสาทเสื่อม (Neuropathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ที่มีระดับน้ำตาลสูงเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการชาที่ปลายมือปลายเท้า หรือรู้สึกเสียวแปลบ ๆ คล้ายเข็มทิ่ม

5. กระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อย
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย และส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จึงรู้สึกกระหายน้ำบ่อย

อาการเหล่านี้อาจดูเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ตรวจเช็ค อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น ตาเสื่อม ไตเสื่อม โรคหัวใจ หรือแผลเรื้อรัง

วิธีลดความเสี่ยงเบาหวานเบื้องต้นที่ทำได้ทันที

  • ปรับพฤติกรรมการกิน เช่น ลดน้ำตาล และของทอด
  • เดินวันละ 30 นาที
  • ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน
  • จัดการความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพื่อคอยควบคุมระดับน้ำตาล

ข้อดีของการตรวจวัดน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

1. รู้ค่าระดับน้ำตาลได้ทันที
 ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที ช่วยให้คุณรู้ว่าค่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ และสามารถปรับพฤติกรรมได้อย่างทันท่วงที

2. ติดตามแนวโน้มสุขภาพได้ต่อเนื่อง
สามารถวัดซ้ำได้ทุกวัน ทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามว่าอาหาร การออกกำลังกาย หรือยาที่ทานอยู่ส่งผลอย่างไรต่อระดับน้ำตาลในเลือด

3. ป้องกันภาวะฉุกเฉิน
ในผู้ป่วยเบาหวาน การรู้ระดับน้ำตาลที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงจนเป็นอันตรายต่อชีวิต

4. ช่วยแพทย์วางแผนการรักษาได้แม่นยำ
หากมีการจดบันทึกค่าที่วัดได้ จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์อาการและปรับการรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น

5. เสริมแรงจูงใจในการดูแลตัวเอง
เห็นผลลัพธ์ด้วยตา ช่วยกระตุ้นให้คุณอยากควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพมากขึ้น

เช็กเองง่าย ๆ ที่บ้าน : วัดระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากสังเกตสัญญาณเตือนเบื้องต้นแล้ว คุณสามารถตรวจระดับน้ำตาลด้วยตัวเองง่าย ๆ ได้ที่บ้านด้วยเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด 

เราขอแนะนำ เครื่องวัดน้ำตาล GE Max หรือ GE Max Plus ที่ใช้งานง่าย เหมาะกับมือใหม่และผู้สูงอายุ

  • แม่นยำสูง: แสดงผลใน 5 วินาที ไม่ต้องตั้งรหัส (Auto-coding)
  • ใช้งานง่าย: หน้าจอชัดเจน ปุ่มไม่ซับซ้อน
  • เหมาะกับผู้ป่วยหลากหลาย: รองรับผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง
  • GE Max Plus มี Bluetooth: เชื่อมต่อแอป Rightest CARE ได้

การวัดน้ำตาลในเลือดควรทำเมื่อใด?

  • ตอนเช้า “ก่อนอาหาร” (Fasting Blood Sugar)
  • หลังอาหาร 2 ชั่วโมง
  • หรือในช่วงที่รู้สึกผิดปกติ เช่น วิงเวียน ใจสั่น เหนื่อยง่าย

ระดับน้ำตาลแบบนี้อาจเกิดภาวะเบาหวาน

เบาหวานอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจนในช่วงแรก แต่ อาการเล็ก ๆ ที่ดูไม่สำคัญ อาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายพยายามเตือนคุณอยู่

  • ระดับปกติของน้ำตาลในเลือดเมื่อตรวจหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง 126 mg/dL ขึ้นไป 
  • มีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง (ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด) ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า หรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมง หลังดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัม มากกว่า หรือเท่ากับ 200 mg/dL 
  • ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) มากกว่า หรือเท่ากับ 6.5%

ตรวจเช็คได้ง่าย ๆ เริ่มต้นจากการสังเกตร่างกาย และวัดน้ำตาลด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทัน และป้องกันแต่เนิ่น ๆ

สุขภาพดี เริ่มที่รู้จักสังเกตตัวเอง และรู้จักเครื่องมือที่ช่วยให้คุณดูแลตัวเองได้ทุกวัน

สินค้าแนะนำ